ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
แม่สีหรือสีขั้นต้น ทั้งสามประกอบด้วย สีแดง,เหลือง และน้ำเงิน เหตุที่ทั้งสามนี้ถือว่าเป็นแม่สีหลัก เพราะว่าสีทั้งสามเป็นสีไม่สามารถเกิดขึ้นจากการผสมสีอื่นๆ และยังเป็นสีต้นกำเนิดของสีอื่นๆ
การผสมสี (Color Mixing)
รูปแบบการผสมสีเพื่อให้เกิดเป็นสีต่างๆ สามารถแบ่งได้ 2 แบบคือ
- การผสมสีของแสง หรือการผสมสีแบบบวก
- การผสมสีของแสงของวัตถุ หรือการผสมสีแบบลบ
วรรณะของสี
วรรณะของสี หมายถึง กลุ่มสีที่ปรากฏให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน
สังเกตจากวงล้อสีจะปรากฏ เป็น 2 วรรณะ คือ
วรรณะสีร้อน ลักษณะของสีจะให้ความรู้สึกสดใสร้อนแรงฉูดฉาดหรือรื่นเริงสีในกลุ่มนี้ได้แก่ สีเหลืองสีแดงสีแสดและสีที่ใกล้เคียง
วรรณะสีเย็น ความรู้สึกที่ปรากฏในภาพจะแสดงความสงบ เยือกเย็นจนถึงความเศร้า ได้แก่ สีน้ำเงิน สีม่วง สีเขียว และสีที่ใกล้เคียง
สีแสดงอารมณ์
สีแดง
เป็นสีของไฟ การปฏิวัติ ความรู้สึกทางกามารมณ์ ความปรารถนา
สีของความอ่อนเยาว์ ดังนั้นจึงเป็นที่ชอบมากสำหรับเด็กเล็กๆ
สีแดงเป็นสีที่มีพลังมากสามารถบดบังสีอื่นๆ
จึงไม่เหมาะที่จะใช้เป็นสีพื้นหรือฉากหลัง
สีเหลือง เขียว และม่วงทุกระดับสี
มีค่าสีแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสีที่มาผสม
สีดังกล่าวอาจทำให้เกิดความรู้สึกในทางบวก
การแสดงออกเต็มไปด้วยความรู้สึกชาญฉลาด หรือให้ความรู้สึกในทางลบ
และเก็บกดก็เป็นได้ เมื่อนำสีแดงมาผสมกับสีขาวจะเป็นสีชมพู สีแดงจะลดพลังลง
และทำให้รู้สึกถึงความอ่อนหวาน นุ่มนวล และความเป็นกวีขึ้นมาแทน
แต่ถ้าสีแดงและเหลืองถูกผสมให้เข้ม ผลลัพธ์ก็คือสีน้ำตาล
ซึ่งมีความอ่อนแก่ต่างกัน แต่ไม่ว่าจะอ่อนแก่เพียงใด
สีประเภทน้ำตาลจะให้ความรู้สึกเกี่ยวกับพื้นดิน ความมั่นคง แข็งแรง
เข้มแข็ง ความเป็นจริง อบอุ่น
สำหรับสีเหลือง
เป็นสีที่มีพลังในด้านความสว่างอย่างมาก
ให้ความรู้สึกเย็นมากกว่าสีเหลืองอมส้ม แต่ก็อุ่นกว่าสีเหลืองอมเขียว
สีเหลืองสะท้อนถึงสติปัญญามากกว่าจิตใจ คุณลักษณะของสีเหลือง
จะรู้สึกได้เมื่อมีสีที่สองปรากฏอยู่ด้วย เช่น
เมื่ออยู่กับสีเขียวจะทำให้รู้สึกมั่นคง และจับต้องได้มากขึ้้น
สีเขียวเป็นสีทางชีววิทยาซึ่งใกล้เคียงกับธรรมชาติ
และช่วยให้ความคิดพลุ่นพล่านสงบลง เป็นสีกลางๆ ไม่เย็นและก็ไม่ร้อน
แต่ถ้าเข้มขึ้นไปในทางสีน้ำเงินจะดูเป็นน้ำ สีเขียวอมฟ้า สีฟ้าพลอย
เป็นสัญลักษณ์ของน้ำ และอาการเคลื่อนไหว
โดยปกติแล้วสีเขียวอมฟ้าเป็นสีตรงข้ามกับสีฟ้า
สีน้ำเงิน
เป็นสีที่เก็บกด ช่างฝัน เปล่าเปลี่ยว
ถึงแม้ว่าจะทำให้ใสขึ้นโดยการผสมสีขาวเข้าไปก็ตาม
สีน้ำเงินให้ความประทับใจเกี่ยวกับความสะอาด บริสุทธิ์จึงมักใช้ในที่ต้องการแสดงสุขอนามัย
สีม่วง
แสดงถึงความใคร่ครวญ การทำสมาธิ ความลึกลับ เวทมนต์คาถา
และความเก่าแก่โบราณ แม้ว่าจะผสมสีขาวให้เป็นสีม่วงไลแลค
ก็ยังทำให้คนที่มองเห็นไม่กล้าเข้าใกล้ ไม่รู้สึกเป็นมิตร
สีม่วงครามซึ่งใกล้สีน้ำเงินมาก จะดูเกี่ยวข้องกับโลกมากกว่าสีม่วงแดง
แต่ยังให้ความเป็นเจ้านายและเต็มไปด้วยเกียรติยศอยู่นั้นเอง
สีทอง
มีตำแหน่งใกล้สีส้ม และนับว่าเป็นสีอุ่นสีหนึ่ง
ในขณะที่สีเงินถูกจัดให้เป็นสีเย็น และมีความคล้ายคลึงกับสีเทากลาง
การใช้สีเงินออกยากกว่าเนื่องจากต้องมีสีอุ่นมาใช้ร่วมด้วยหากว่าต้องการผล
ของความรู้สึกในทางบวก
สีเทา
สำหรับสีเทาซึ่งมีระดับสีอ่อนแก่แตกต่างกันมากหลายระดับ
อาจจะเป็นที่คุ้นเคยกันดีจากการดูภาพขาวดำ
การอ่านหนังสือพิมพ์และหนังสือทั่วไป
สีดำ
สีดำ ซึ่งเรียกว่า อรงค์ คือ ถือว่าไม่ใช่สีดำ เป็นสัญลักษณ์ของความมืด
ความว่าง ในการตีพิมพ์สีดำมีค่าในทางบวกมาก
เนื่องจากเมื่อเราไม่ใช้สีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพหรืออักษรวางลงไป
ก็จะทำให้สีเหล่านั้นเจิดจ้าสะดุดตาขึ้น
สีขาวสีขาวก็เช่นกัน ไม่เป็นทั้งสีอุ่นและเย็น ยกเว้นเมื่ออยู่กับสีเหลือง
จะทำให้สีเหลืองจ้าขึ้น เราสามารถวางภาพหรืออักษรสีต่างๆ
ลงบนพื้นขาวได้ผลดีเช่นเดียวกับสีดำ
สีใกล้เคียง (Relate Colors) สีที่อยู่ใกล้เคียงกัน ในวงจรสี เราสามารถ กาหนดสีใกล้เคียงได้โดย ยึดสีใดสีหนึ่งเป็นหลักก่อน แล้วนับไปทางซ้ายหรือขวาทางใดทางหนึ่ง หรือทั้ง 2 ทาง นับร่วมกับสีหลักแล้วไม่เกิน 4 สี ถือว่าเป็นกลุ่มสีที่กลมกลืน และถ้าจะให้สีกลมกลืนกันที่สุดก็นับเพียง 3 สี เท่านั้น
การกลับค่าของสี (DISCORD)
การสร้างความแตกต่างหรือความขัดแย้งที่เหมาะสมได้จังหวะส่งเสริมให้มีสีสันน่าดูขึ้นทั้งนี้เพราะการใชสีกลมกลืนบางครั้งดูจืดชืดเกินไปการสร้างความขัดแย้งในบางจุดทาให้ภาพดูตื่นเต้นขึ้น
คู่สีตรงข้าม
โครงสีตรงข้ามคือการใช้ชุดสีหรือคู่สีที่ตัดกันรุนแรงเป็นสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสีและเป็นสีที่อยู่ต่างวรรณะกันสีสองสีเมื่อนามาใช้คู่กันจะทาให้สีทั้งสองมีความสว่างและสดใสมากขึ้นการใช้สีแบบนี้ให้ความรู้สึกตื่นเต้นมีชีวิตชีวามีพลังการเคลื่อนไหวและเร้าความสนใจได้ดีอย่างไรก็ตามอาจทาให้ผู้ดูรู้สึกเบื่อได้ง่ายเช่นกันสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสีมีทั้งหมด 6 คู่คือ1. สีเหลือง กับ สีม่วง
2. สีเขียว กับ สีแดง
3. สีส้ม กับ สีน้ำเงิน
4. สีเขียวเหลือง กับ สีม่วงแดง
5. สีเขียวน้าเงิน กับ สีส้มแดง
6. สีส้มเหลือง กับ สีม่วงน้ำเงิน
การใช้สีสมดุล (Symmetrical Coloring) เป็นการใช้สีโดยแบ่งภาพออกเป็นสองส่วนซ้ายขวาหรือส่วนบนล่างเมื่อระบายสีลงในด้านใดให้ระบายสี
นั้นในด้านตรงกันข้ามด้วยจะได้ภาพที่มีสีสดในประสานส่งเสริมกันอย่างน่าดูยิ่งโดยมีความสมดุลของทั้งสองด้านเป็นตัวควบคุม
การใช้สีจตุสัมพันธ์ (Quadratic Color) สีจตุสัมพันธ์ เป็นสีที่มีค่าของสีที่ตัดกัน โดยน้าหนัก ไม่ใช้ตัดกัน โดยแท้จริง (True Contrast) หรือเป็นสีคู่ (Complementary Colors) แต่น้าหนักที่ตัดกันนั้น น้อยกว่า สีไตรสัมพันธ์ และสีชุดจตุสัมพันธ์นี้ จะเป็นสีที่อยู่ในวรรณะใดวรรณะหนึ่ง (Warm Tone or Cool Tone) อยู่2สีและอีกวรรณหนึ่ง 2 สีประสิทธิภาพของการใช้สีไตรสัมพันธ์นี้ นอกจากค่าน้าหนัก และความจัดของสีใไม่รุนแรงมากนักแล้ว ยังมีความหลากหลายของสี มากขึ้นซึ่งการนาไปใช้ต้องพิจารณาร่วมกับ ความเหมาะสมของแต่ละ ชิ้นงาน และแต่ละจุดประสงค์ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น